พระธาตุประจำปีเกิด ปีกุน (ปีหมู) แห่งวัดพระธาตุดอยตุง

พระธาตุประจำปีกุน
พระธาตุประจำปีกุน

พระธาตุประจำปีเกิด ปีกุน (ปีหมู)

พระธาตุประจำปีเกิด


ขอบคุณข้อมูลจาก Ayurveda

พระธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และสถานที่ หรือ พระเจดีย์ที่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ดังนั้น และในชีวิตของเรา ครั้งหนึ่งควรหาโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต


คติการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด
เมื่อคนเราตายไปดวงวิญญาณจะสิงสถิต ที่พระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคนก่อนที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์เพราะฉะนั้นควรจะไปนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

เพราะเหตุใด พระธาตุประจำปีเกิดจึงต้องอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ในสมัยก่อน อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพม่า ต่างเป็นแว่นแคว้นข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน การกำหนดให้มีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดจึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการเดินทางติดต่อกันทำให้คนแต่ละเมืองที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันได้อย่างใกล้ชิดขึ้น

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อ พระบรมสารีริกธาตุ หรือ กระดูกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระบรมธาตุ หรือ พระธาตุ เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเศษส่วนจากพระวรกายที่เหลืออยู่ไม่มากนัก จึงทำให้ต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณมีการประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้เนินดินรูปครึ่งวงกลม แล้วปักฉัตรไว้ด้านบนเพื่อยกย่องและแสดงเกียรติยศของผู้ตายตามธรรมเนียมอินเดียโบราณ

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปบูชายังเมืองต่าง ๆ ทำให้มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุขึ้นทั่วไป โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น สถูปเจดีย์สำคัญของบ้านเมืองต่าง ๆ ล้วนได้รับการอธิบายว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุ

ฉะนั้นบางครั้งจึงนิยมเรียกสถูปเจดีย์เหล่านั้นว่า พระธาตุ ซึ่งหมายถึง พระบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ภายในสถูปเจดีย์นั่นเอง ดังนั้น การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้น การสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศตัณหา และที่สำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า พระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่าง ๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล

ในล้านนาทำไมต้องห้ามผู้หญิงขึ้นบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์
เนื่องจากในสมัยโบราณนิยมบรรจุพระบรมธาตุไว้ในกรุที่อยู่ใต้เจดีย์ เมื่อมีความเชื่อว่าผู้หญิงเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์จากการมีรอบเดือน ทำให้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงอยู่เหนือพระบรมธาตุ แม้ในระยะผิวดินด้านบนก็ตาม ไม่เช่นนั้น จะทำให้พระบรมธาตุเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และไม่แสดงปาฏิหาริย์อีกต่อไป การห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นไปบริเวณรอบพระธาตุเจดีย์นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่เข้าใจกันดีในหมู่ชาวล้านนา ป้ายที่ติดไว้ตามศาสนสถานสำคัญ ๆ ของชาวล้านนาจึงมีไว้เตือนคนต่างถิ่นให้ทราบและปฏิบัติตาม

 

ปีกุน (ปีหมู) – พระธาตุดอยตุง (เชียงราย)

พระธาตุประจำปีเกิด
zoom

ปีกุน เป็นปีที่สิบสองของปีนักษัตร (ธาตุน้ำ) มีสัญลักษณ์เป็นรูป "หมู" แต่สำหรับคนล้านนาจะใช้ ‘ช้าง’ พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุดอยตุง แห่งวัดดอยตุง อำเภอดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมืองเชียงใหม่ มีสัญลักษณ์ล้านนา ผสานอิทธิพลพื้นเมืองปูชนียสถานในเมืองเชียงราย จะมีขนาดไม่ใหญ่ และมักให้ความรู้สึกสงบและสันโดษ

ประวัติพระธาตุดอยตุง (วัดพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย) นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระมหากัสสะปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า(พระรากขวัญเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวติ เป็นประธานพร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง (คือดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1454 ต่อมาอีก 100 ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถร ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช แล้วจึงได้พร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุขึ้นบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่งบนดอยตุง พร้อมได้ปฏิสังขรณ์องค์เดิม

คำบทสวดบูชาพระธาตุดอยตุง ประจำปีกุน (ตั้งนโม 3 จบ)

อิมัสสะมิง ภัทกะกัปเป
จะตุพุทธา พุชูฌะติตะวา
กะกุสะนูระ โกนาคะมะนะ
กัสสะปะ โคตุมะราชะคะเห
จะระติปิณะฑายะ มิถิลายะนะคะเรสิ
จะรัตติ ปิณะฑายะ อะตะตีตา
พุทธาเน อิมัสสะมิง
ปัพพะตาคิริ ปะทะ
กังนะสิทิตะวา เมตเตยยะ
อะนาคะเต จะระติปิณะฑายะ
ราชะคะเห อิมัสสะมิง
ฐาเนนะสิทิสิริ สุภะปะวะ
รังมะคะโล ตะโมลากะถามุนิราชะ
สาตะระนะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง
อะหังวันทามิ สัพพะทานะตัง
วะชิระธาตุโย อะระหังวันทามิ สัพพะทา